วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ย้อนรอยอดีตภูมิปัญญาไทย

กิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยคุณครูมะลิ ศาลางาม ได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับย้อนรอยอดีตภูมิปัญญาไทย...

โรงเรียนกระเทียมวิทยา ตำบล กระเทียม อำเภอ สังขะ จังหวัด สุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3ที่มาและความสำคัญ ปัจจุบันประชานหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นจนทำให้หลงลืมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษตั้งแต่สมัยโบราณมีความนิยมมาจากตะวันตกเข้ามาทำให้มนุษย์ไม่มีการไตร่ตรองและคำนึงถึงความเหมาะสม จนทำให้หลงลืมของดีแต่ไทยเดิม ของใช้พื้นบ้านคือสิ่งของที่ชาวบ้านทำขึ้นมาเองเนื่องจากสมัยโบราณไม่มีเทคโนโลยีใช้ และสิ่งของที่ทำมาก็เป็นของที่มีอยู่ในท้องถิ่นของแต่ละหมู่บ้านซึ่งในท้องถิ่นบ้านกระเทียมมีภาษาถิ่นที่ใช้หลักๆ 3 ภาษาคือภาษาส่วยภาษาลาวและภาษาเขมรดังนั้นเพื่อให้เยาวชนสนใจและได้รับรู้ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวของตนเอง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้รู้จักสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันของคนในสมัยโบราณ
2.เพื่อรวบรวมสิ่งของที่มีอยู่ในท้องถิ่น
3.เพื่ออนุรักษ์สิ่งของในสมัยโบราณที่มีอยู่ในท้องถิ่น ได้แก่ เกวียน กระเชอ คันไถ กระบวย เป็นต้น มิให้สูญหายไปจากท้องถิ่น
4.เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้รู้จักสิ่งของในสมัยโบราณ
วิธีการดำเนินงาน
1.ศึกษาค้นคว้า
2.เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3.นำข้อมูลที่ได้มาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาในท้องถิ่นของนักเรียนได้แก่ภาษาลาว ภาษาส่วยและภาษาเขมร โดยสอบถามผู้รู้ต่อ
4.บอกถึงวัสดุที่นำมาใช้ในการประดิษฐ์และประโยชน์ที่นำไปใช้
5.หาสำนวนไทยที่เกี่ยวข้อง
6.แต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ 11 และบอกถึงที่มาและประโยชน์ที่ใช้
7.เขียนนิทานที่เกี่ยวข้องกับของใช้แต่ละชนิด
8.แต่งเพลงและขับร้องเพลงที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้ภาษาถิ่น 3 ภาษา
9.นำเสนองานในรูปแบบE-Bookโดยใช้โปรแกรมFlip album
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พอดีด้านจิตใจ คือ เข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดีนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม
พอดีด้านสังคม คือ ช่วยเหลือเกื้อกูล รู้จักสามัคคี สร้างความเข้มแข็งในครอบครัวและชุมชน
พอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมายถึง รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบและเกิด ความยั่งยืนสูงสุด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนรู้จักสิ่งของเครื่องใช้ในสมัยโบราณมากขึ้น
2. สามารถเขียนนิทานได้
3. สามารถแต่งและขับร้องเพลงเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้
4. เกิดทักษะในการพูด การเขียนและเข้าใจภาษาถิ่นที่รียกวัสดุเครื่องใช้ได้ถูกต้อง
5. สามารถแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11และกลอนสุภาพได้ถูกต้องตามรูปแบบ
6.สามารถนำเสนองานในรูปแบบE-BOOKโดยใช้โปรแกรมFlip albumได้
ตัวอย่าง
ชื่อ กระด้ง
ภาษาส่วยเรียก คหราง
ภาษาลาวเรียก กะด้ง
ภาษาเขมรเรียก เกรียง หรือจังเอร
สำนวนที่เกี่ยวข้อง
-จับปูใส่กระด้ง หมายถึง คนหรือเด็กเล็กๆที่อยู่ไม่นิ่งถึงจะอยู่ในบังคับอย่างไร ก็จะซุกซนไปเรื่อยๆ
ตัวอย่างกาพย์ยานี 11
กระด้งทรงกลมรี ของสิ่งนี้เป็นของใช้
ทำจากต้นไม้ไผ่ นำมาใช้เหลาสานกัน
ประโยชน์ใช้แทนถาด หลายคนอาจเกิดไม่ทัน
ประโยชน์ใช้สารพัน ยิ่งนับวันจะหมดไป